Friday, May 24, 2013

ชนิดของโครงกระดูก


โครงกระดูกในมนุษย์สามารถแบ่งเป็น  2 กลุ่มใหญ่ โดยใช้ตำแหน่งที่อยู่เป็นเกณฑ์ คือโครงกระดูกแกน (axial skeleton) และโครงกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton)


1.โครงกระดูกแกน

เป็นกระดูกที่อยู่ในส่วนแกนกลางของร่างกาย  โดยกระดูกแกนในผู้ใหญ่ประกอบด้วยกระดูกจำนวน80 ชิ้น ซึ่งวางตัวในแนวแกนกลางของลำตัว ซึ่งได้แก่

§ กะโหลกศีรษะ (Skull) มีจำนวน 22 ชิ้น

§ กระดูกหู (Ear ossicles) จำนวน 6 ชิ้น

§ กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น

§ กระดูกสันหลัง (Vertebral column) จำนวน 26 ชิ้น

§ กระดูกซี่โครง (Ribs) จำนวน 24 ชิ้น

§ กระดูกอก (Sternum) 1 ชิ้น

2.โครงกระดูกรยางค์

กระดูกที่ยื่นออกจากกระดูกแกนกลาง  โดยกระดูกรยางค์ในผู้ใหญ่จะมีทั้งหมด126 ชิ้น ซึ่งจะอยู่ในส่วนแขนและขาของร่างกายเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว โดยจะแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่

§ กระดูกส่วนไหล่ (Shoulder girdle) 5 ชิ้น

§ กระดูกแขน (Bones of arms) 6 ชิ้น

§ กระดูกมือ (Bones of hands) จำนวน 54 ชิ้น

§ กระดูกเชิงกราน (Pelvic girdle) 2 ชิ้น

§ กระดูกขา (Bones of legs) 8 ชิ้น

§ กระดูกเท้า (Bones of feet) 52 ชิ้น

หน้าที่ของกระดูก



หน้าที่ของกระดูก


1. ป้องกันอันตรายให้กับอวัยวะในร่างกาย เช่น กะโหลกศีรษะ ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับสมอง เป็นต้น
2. รักษารูปร่างให้คงรูปอยู่ได้ เช่น กระดูกสันหลัง
3. ช่วยในการเคลื่อนที่ เช่น กระดูกที่ขา ทำงานร่วมกับกล้ามเนื้อลาย เอ็น และข้อต่อ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่
4. ช่วยให้ได้ยินเสียง เช่น กระดูกโกลน (Stapes หรือ Stirrup) ทำหน้าที่ส่งผ่านความสั่นสะเทือนของเสียงจากกระดูกทั่ง
(Incus) ไปยังหูชั้นใน
5. สร้างเซลล์เม็ดเลือด เช่น เม็ดเลือดแดง (Red blood cell) เม็ดเลือดขาว (White blood cell) และเกล็ดเลือด
(Platelets) ถูกสร้างโดยไขกระดูกสีแดง (Red bone marrow)
6. เก็บสะสมแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม และฟอสฟอรัส
7. เก็บสะสมสารส่งเสริมการเจริญเติบโตบางชนิด เช่น โบน มอร์โฟเจเนติก โปรตีน (Bone Morphogenetic Proteins
หรือ BMPs) เป็นโปรตีนที่ช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและกระดูกอ่อน
8. เก็บสะสมไขมัน ในตอนที่เรายังเป็นเด็กทารกอยู่นั้น จะมีเฉพาะไขกระดูกสีแดงแต่เมื่อโตขึ้นเซลล์บางส่วนในไขกระดูก
จะสลายตัวไป ทำให้เกิดรูพรุนขึ้นมา ซึ่งไขมันจะถูกนำมาเก็บสะสมเอาไว้ในรูพรุนเหล่านี้ ทำให้เห็นเป็นสีเหลือง จึงเรียกว่า ไขกระดูก
สีเหลือง
9. ช่วยควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่างในร่างกายไม่ให้เปลี่ยนแปลง ในขณะที่เลือดเป็นด่าง กระดูกจะช่วยดูดซึมสารจำพวก
เกลืออัลคาไลน์ (Alkaline salts) เข้ามาเก็บเอาไว้ในกระดูก เพื่อลดค่าความเป็นด่างในเลือด แต่ในขณะที่เลือดเป็นกรด กระดูก
จะช่วยปลดปล่อยสารจำพวกเกลือ อัลคาไลน์ออกสู่กระแสเลือด เพื่อลดค่าความเป็นกรดในเลือด
10. ช่วยสลายพิษในร่างกาย เนื้อเยื่อกระดูกมีความสามารถในการดูดซึมและเก็บสะสมโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกายใน
กระแสเลือด เพื่อลดความเป็นพิษให้แก่ร่างกาย และเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะปกติ กระดูกจึงค่อยๆ ปลดปล่อยโลหะหนักเหล่านั้น
ออกมา และกำจัดออกโดยระบบขับถ่ายต่อไป
11. ควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึมของฟอสเฟส (Phosphate metabolism) โดยการหลั่งไฟโบรบลาสต์ โกรทแฟคเตอร์
(Fibroblast growth factor - 23 หรือ FGF-23) ซึ่งเป็นสารจำพวกโปรตีน ไปควบคุมการดูดกลับฟอสเฟตของไตให้น้อยลง

ระบบกระดูก



ระบบกระดูก


            กระดูก (Bone) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) ที่เป็นโครงร่างแข็ง (Exoskeleton) ภายในร่างกายของสัตว์มีกระดูกสันหลัง

กระดูกของมนุษย์


กระดูกมนุษย์ ประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นต่างๆในร่างกาย ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน และอวัยวะต่างๆ กระดูกในมนุษย์ผู้ใหญ่มีประมาณ 206 ชิ้น และคิดเป็นประมาณ20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ดี จำนวนของกระดูกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทารกแรกเกิดจะมีกระดูกจำนวนประมาณ 300ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้นจะมีการเชื่อมรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต เช่นส่วนกระเบนเหน็บและส่วนก้นกบของกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ในทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อนอยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้างของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดช่วงวัยรุ่น

กระดูกจะติดต่อกับกระดูกอีกชิ้น และประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงกระดูกด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นในกระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) ซึ่งเป็นกระดูกที่ไม่ติดต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆโดยตรง แต่จะยึดไว้ในบริเวณส่วนบนของคอหอยด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อใกล้เคียง

กระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในมนุษย์คือกระดูกต้นขา (Femur) ในขณะที่กระดูกชิ้นเล็กที่สุดคือกระดูกโกลน (Stapes) ซึ่งเป็นกระดูกของหูชั้นกลางชิ้นหนึ่ง